
สาเหตุของ การอักเสบเฉียบพลัน ในโรค acute gout คือ การสะสมสาร monosodium urate crystals ในเยื่อหุ้มข้อ (synovium) และในเนื้อเยื่อ ที่อยู่ใกล้เคียง กับข้อ แต่เหตุ ที่ทำให้เกิด การสะสมของสาร ดังกล่าวข้างต้น ยังไม่เป็นที่ ทราบแน่ชัด โรค gout มักเกิดกับข้อ metatarso-phalangeal joint ของหัวแม่เท้า เข้าใจว่า แรงโน้มถ่วง ของโลก น่าจะมีส่วนร่วมเสริม ในการทำให้เกิด การสะสม ของผลึกยูเรท นอกจากนี้ ยังพบว่า โรค gout ยังเกิดได้ กับข้อเท้า (ankle joint) และพบน้อย ในข้อเข่า (knee joint) และ ข้อสะโพก (hip joint) เนื่องจาก น้ำหล่อเลี้ยงข้อ (synovial fluid) เป็นตัวละลาย (solvent) ที่เลวสำหรับ monosodium urate ผิดกับ ของเหลวพลาสม่า ซึ่งละลาย monosodium rate ได้ดีกว่า ดังนั้น เมื่อเกิด ภาวะ hyperuricemia สาร urate ในข้อกระดูก จะอิ่มตัว โดยเฉพาะที่ ข้อกระดูกที่มี อุณหภูมิต่ำ ถึง 20 องศาเซลเซียส เช่นที่ ข้อเท้า สาร urate เหล่านี้จะ ตกตะกอน เป็น microtophi อยู่ในเซลล์ ที่ดาษข้อกระดูก (synovial lining cells) และในกระดูกอ่อน ด้วยสาเหตุที่ยัง ไม่ทราบแน่ชัด อาจเป็นเพราะ trauma ก็ได้ที่ ทำให้ผลึกเหล่านี้ หลุดออกสู่ น้ำหล่อเลี้ยงข้อ (synovial fluid) พวกผลึกเหล่านี้ มีคุณสมบัติเป็น สารชักนำการอักเสบ (chemotactic) และ เป็นตัวกระตุ้น ให้สาร complement สร้าง C3a และ C5a (อ่านเพิ่มเติมในเรื่อง การอักเสบใน sheet ที่แจกไปก่อนหน้านี้ หรือใน Home Page "ChulaPatho" ในหัวข้อ general pathology เรื่อง inflammation) ทำให้เกิด การสะสม ของเม็ดเลือดขาว (neutrophils) และ เซลล์กินสิ่งแปลกปลอม (macrophages) ภายใน ข้อกระดูก และในเยื่อหุ้มข้อ (synovial membrane) เมื่อเกิด การกินผลึก เข้าไปในเซลล์เหล่านี้ ก่อให้เกิด การหลั่งสาร อนุพันธ์อิสสระ ที่เป็นอันตราย ต่อร่างกาย (toxic free radicals) และ leukotrienes (LTB4) เมื่อเซลล์เม็ดเลือดขาว ตาย จะปลดปล่อยสาร lysosomal enzyme ขณะเดียวกัน เซลล์กินสิ่งแปลกปลอม และ เซลล์หุ้มข้อ (synoviocytes) ก็จะ ผลิตสารเคมีชักนำ ตัวอื่นๆ ออกมา เช่น IL-1, IL-6, IL-8 (interleukin = IL) และ สารเคมีชักนำ TNF-a (TNF = tumor necrosis factor) ซึ่งจะ ชักนำให้เกิด การอักเสบเพิ่มมากขึ้น และเกิด การทำลายข้อกระดูก เพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ ยังมีการกระตุ้น ต่อ Hageman factors ทำให้ระบบ การแข็งตัวของเลือด เข้ามาช่วยเสริม การเกิดอักเสบ และ การทำลายข้อกระดูก เพิ่มมากขึ้น เกิด acute gouty arthritis ซึ่งจะหายได้ ภายในไม่กี่วัน หรือสัปดาห์

เมื่อนำ น้ำหล่อเลี้ยง ตามข้อ ที่เกิดโรค acute gout มาส่องดูด้วย กล้องจุลทรรศน์ จะพบเซลล์อักเสบ จำพวก polymorphonuclear leukocyte เป็นจำนวนมาก และ ผลึกสารยูเรท สามารถตรวจพบ ได้ด้วยแสง polarised light. ดังนั้นเมื่อ ข้อกระดูก เกิดการอักเสบเฉียบพลัน ข้อเหล่านี้ จะมีจำนวน เม็ดเลือดขาว เพิ่มขึ้น และ ถูกทำลาย เป็นจำนวนมาก ภายในข้อกระดูก ที่อักเสบนี้ อีกประการหนึ่ง สารผลึกขนาดเล็ก เหล่านี้ อาจทำ อันตรายต่อ เยื่อหุ้มข้อ ได้อีกด้วย ด้วยเหตุนี้ เมื่อเกิด การอักเสบเฉียบพลัน จากโรค gout มักทำให้เกิด การอักเสบชนิด cellulitis รอบๆ ข้อกระดูก ร่วมไปด้วย
เมื่อข้อกระดูก เกิดอักเสบ บ่อยๆ เป็นๆหายๆ ทำให้เกิด การอักเสบเรื้อรัง chronic arthritis และต่อมาเกิด การสร้าง tophi ตามเยื่อหุ้มข้อ ที่อักเสบ เหล่านี้รวมทั้ง เนื้อเยื่อรอบ ข้อกระดูก
เกาต์เป็นโรคข้ออักเสบที่เกิดจากการสะสมของผลึกเกลือโมโนโซเดียมยูเรตในเนื้อเยื่อและน้ำไขข้อ ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับการมีกรดยูริคในเลือดสูง(hyperuricemia) ซึ่งภาวะนี้มีนิยามคือการมีระดับซีรั่มของยูเรตเท่ากับหรือมากกว่า 6.8 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร (404 μmolต่อลิตร) ซึ่งเป็นจุดที่การละลายของยูเรตมีความจำกัด

มนุษย์ไม่มีเอนไซม์ uricase จึงไม่สามารถแปลงเปลี่ยนยูเรตเป็น allantoin ที่สามารถละลายน้ำได้ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์สุดท้ายของ purine metabolism การมีกรดยูริคในเลือดสูงเกิดจากการผลิตยูเรตมากเกินไปหรือมากกว่าปกติโดย การขับกรดยูเรตของไตเป็นสิ่งที่จำเป็น แต่ไม่เพียงพอจึงก่อให้เกิดโรคเก๊าต์
ใน cohort study หนึ่ง เกาต์เกิดขึ้นเพียง 22% ของผู้ที่มีระดับยูเรตมากกว่า 9.0 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร (535 μmolต่อลิตร) ในช่วงระยะเวลา 5 ปี
เกาต์มีลักษณะทางคลินิกสองช่วง ระยะแรกเป็นลักษณะภาวะเฉียบพลันที่เกิดขึ้นชั่วคราว ซึ่งจะสามารถดีขึ้นได้เองในช่วง 7 ถึง 10 วัน ร่วมกับการที่ไม่มีอาการแสดงในระหว่างช่วงนี้
การรักษาภาวะกรดยูริคในเลือดสูงอย่างไม่พอเพียงกับจะเปลี่ยนไปสู่ระยะที่สองโดยมีลักษณะตุ่มก้อนเรื้อรัง มักเกิดกับหลายๆข้อ อาการจะมีระหว่างการเกิดอาการเฉียบพลันและการสะสม (tophi) ในเนื้อเยื่ออ่อนหรือข้อต่อ แม้ว่าความชุกของการเกิดก้อนเกาต์แตกต่างกันไปในหมู่ประชากร ซึ่งการศึกษาหนึ่งพบว่าก้อน tophi ตรวจพบได้สามในสี่ของผู้ป่วยโรคเก๊าต์ที่ไม่ได้รับการรักษาเป็นเวลา 20 ปีหรือมากกว่านั้น อาการกำเริบซ้ำพบได้บ่อย จากการศึกษาหนึ่งพบว่าประมาณอย่างน้อยสองในสามของผู้ป่วยเคยมีอาการกำเริบกระทันหันอย่างน้อยหนึ่งครั้งในรอบปีที่ผ่านมา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น