6/12/55

โรคเก๊าท์ (Gout) คืออะไร?

โรคเก๊าท์ (Gout) จัดเป็นโรคข้ออักเสบเฉียบพลันที่เป็นกันมากขึ้น และบ่อยที่สุดในมนุษย์ โดยเฉพาะผู้ชาย และค่อนข้างมีอายุหน่อย ทางการแพทย์รู้จักเก๊าท์มานานแล้ว แต่จนปัจจุบัน ยังมีความเข้าใจคลาดเคลื่อนต่อโรคนี้อยู่มาก ทั้งตัวแพทย์ผู้รักษาเอง และผู้ป่วย นำมาซึ่งความเชื่อผิด ๆ อยู่ให้เห็นในปัจจุบัน โรคนี้เกิดจากความผิดปกติในขบวนการเมตะบอลิสซั่มของกรดยูริกในร่างกาย ภาวะที่มีการเกาะของยูริกที่ข้อทำให้เกิดการอักเสบมีอาการปวด บวมแดงร้อน ผู้ป่วยที่เป็นโรคเก๊าท์อาจจะมีกรดยูริกในเลือดสูงหรือปกติก็ได้ และผู้ที่มีกรดยูริกในเลือดสูงก็ไม่จำเป็นต้องเป็นโรคเก๊าท์เสมอไป โรคเก๊าท์เป็นในผู้ชายมากว่าผู้หญิง 9 เท่าและมักเป็นวัยกลางคนขึ้นไป ส่วนผู้หญิงมักเป็นหลังจากหมดประจำเดือน ในรายที่เรื้อรังจะมียูริคสูงอยู่ในเลือดเป็นเวลานาน และด้วยคุณสมบัติของยูริคเอง ที่มีการละลายได้จำกัด (ประมาณ 7 มก./ดล.) ทำให้ยูริคส่วนเกินนี้ เกิดการตกตะกอนตามเนื้อเยื่อต่าง ๆ ในร่างกาย เป็นผลึกเกลือยูเรต (monosodium urate) เกาะ จะทำให้เกิดก้อนที่เรียกว่า Tophi เห็นเป็นปุ่มก้อนตามแขนขาได้กรดยูริค (Uric acid) เป็นผลผลิตจากการสลายสารพิวรีน (purine) ซึ่งเป็นสารสำคัญในการสร้างสาย DNA ในเซลล์ต่าง ๆ ดังนั้นการสลายเซลล์ของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดที่มี DNA จะได้กรดยูริค เสมอ ที่พบมากและทำให้เกิดการอักเสบ เนื่องจากมีการเกาะของ เกลือ uric สะสมในเนื้อเยื่อต่าง ๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะบริเวณข้อต่าง ๆ และเอ็นหากเป็นเรื้อรังจะทำให้ข้อผิดรูปและเสียหน้าที่ในการทำงาน นอกจากนั้นยังทำให้หน้าที่ของไตเสื่อมและเกิดโรคนิ่วที่ไตด้วย

เมื่อมีอาการแสดงเต็มที่ จะประกอบไปด้วย

- อาการข้ออักเสบเฉียบพลัน
- โรคข้ออักเสบเรื้อรัง
- ทำให้ไตทำงานบกพร่อง
- การเกิดนิ่วกรดยูริกในทางเดินปัสสาวะ (uric acid stone)
- และการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางระบบหัวใจและหลอดเลือด

ทำไมเก๊าท์มีแต่ผู้ชาย อายุมาก, ผู้หญิงไม่เป็นโรคนี้หรือ ?

เนื่องจากภาวะกรดยูริคในเลือดที่สูงนั้น จะยังไม่เกิดการตกตะกอนและเกิดข้ออักเสบทันที แต่ต้องใช้ระยะเวลา ที่กรดยูริคในเลือดสูงเป็นเวลานานหลายสิบปี พบว่าในผู้ชายที่มีกรดยูริคสูงนั้น ระดับของยูริคในเลือด จะเริ่มสูงขึ้นตั้งแต่ช่วงวัยรุ่น และสูงไปนาน จนกว่าจะเริ่มมีอาการ คืออายุประมาณ 40 ปีขึ้นไป ส่วนผู้หญิงระดับยูริค จะเริ่มสูงขึ้นหลังจากวัยหมดประจำเดือน เนื่องจากฮอร์โมนเพศหญิง มีผลทำให้ยูริคในเลือดไม่สูงพบว่ายูริคในเลือดที่สูงนั้น กว่าร้อยละ 90 เกิดจากการสร้างขึ้นในร่างกายเอง อาหารเป็นแหล่งกำเนิดของยูริคในเลือดน้อยกว่าร้อยละ 10 เสียอีก ดังนั้นผู้ที่ไม่มียูริคสูงมาก่อน การกินอาหารที่มีพิวรีนสูง จึงไม่มีทางทำให้ระดับยูริคสูง

1/12/55

พยาธิวิทยาของโรคเก๊าท์ (Pathology of gout)

- การสะสมสาร urate crystals (ผลึกยูเรท) ในเนื้อเยื่อ ทำให้เกิด การอักเสบเฉียบพลัน และอาการเจ็บปวด

- ข้อกระดูกที่เป็น บ่อยที่สุด คือข้อ metatarso-phalangeal joint ของหัวแม่เท้า

- เป็นกับ เพศชายมากกว่า เพศหญิง

- ระดับ uric acid ในเซรัมขึ้นสูง

- อาจเกิดร่วมกับ การทำลาย เนื้อไต เป็นเวลานาน

โรค gout เป็นผลจาก ความผิดปกติ หลายอย่าง ที่ทำให้เกิด ปริมาณของสาร uric acid ในพลาสม่า ขึ้นสูง (hyperuricemia) ถ้าเกิด ทันที กับข้อกระดูก เรียกว่า acute arthritis โรคนี้มัก เกิดขึ้น ชั่วครั้งชั่วคราว เนื่องจาก การตก ผลึกของสาร urate ภายใน หรือรอบๆ ข้อกระดูก ซึ่งอาจ ก่อให้เกิด การอักเสบเรื้อรัง ในภายหลัง เรียกว่า chronic gouty arthritis และถ้ามี การสะสมของสาร urate มากๆเข้า จนจับตัว เป็นก้อนที่ ข้อกระดูก หรือ เนื้อเยื่อ ใกล้เคียง เรียกก้อนที่เกิดขึ้น นั้นว่า tophi.
โรค gout เป็นโรค ที่รู้จักกันดี มาเป็นเวลานานแล้ว ตั้งแต่สมัยโบราณ มีบันทึก ในประวัติทาง การแพทย์ แม้แต่ใน ศพ มัมมี่ของ อียิปต์โบราณ ก็ยังพบ หลักฐานของ การเกิดโรค ข้ออักเสบจาก gout อีกทั้ง ยังพบ หลักฐานจาก ข้อเขียนของ Hippocrates และ แพทย์คนอื่นๆ ในยุคกรีกโบราณ และโรมัน ในคริสศตวรรษ์ที่ 17 และ 18 โรค gout เป็นกันมาก ในหมู่ คนอ้วน และผู้ติดสุราเรื้อรัง

พยาธิกำเนิด (pathogenesis)
กลไกล ทางชีวเคมี (biochemical mechanism) ของโรค gout เป็นที่ทราบกันดี แต่สาเหตุ ที่แท้จริงที่ทำให้ ระดับของ uric acid ในเซรัมขึ้นสูงนั้น ยังไม่เป็นที่ทราบ แน่ชัด กลไกล และสาเหตุ เท่าที่ทราบมีดังนี้

1. พบว่า 75 % ของโรค มีการขับสาร uric acid ทางปัสสวะลดลง

2. ขัดขวาง การขับสาร uric acid เมื่อได้รับ ยาขับปัสสวะ จำพวก thiazide (thiazide diuretics) โรค ไตวายเรื้อรัง (chronic renal failure) เป็นต้น

3. เกิดจาก การสร้างสาร uric acid มากเกินไป เนื่องจากมี การสร้าง และทำลายของเซลล์ มากจนเกินไป เช่น ในกรณีของ โรคมะเร็ง หรือเกิด การผลิตสารจำพวก purine มากเกินไป เช่น จาก ความปกพร่อง ของเอนไซม์จำเพาะ (specific enzyme) บางชนิด

4. กินอาหารที่มีสารจำพวก purine มากเกินไป

จากการสำรวจ พบว่า มีเพียง 5 % ของเพศชาย ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป ที่มี ระดับของสาร uric acid ในเซรัม มากกว่า 7 mg/dl และพบว่า มีน้อยกว่า 5 % ของเพศชาย ที่มีสาร uric acid ใน เซรัมสูงเหล่านี้ ที่เกิด อาการ ทางคลีนิคของโรค gout นอกจากนี้ ยังพบอีกว่า มากกว่า 75 % ของผู้ป่วย ที่เป็นโรค gout มีการขับสาร uric acid ในปัสสวะลดลง แต่สาเหตุ ของการขับสารลดลงนี้ ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด ในจำนวนผู้ป่วย ที่มี การผลิตสาร จำพวก purine มากเกินไป อย่างไม่ทราบสาเหตุ มีเพียงไม่กี่ราย ที่มีระดับของสาร uric acid ในเซรัมสูงขึ้น และ ในภาวะที่มี การสร้าง และทำลายเซลล์ เป็นจำนวนมาก เช่นกรณีที่ เป็นมะเร็ง หรือโรคบางอย่าง เป็นสาเเหตุ ของการเกิดโรค gout ได้ที่เรียกว่า secondary gout ด้วยเหตุนี้ ผู้ป่วยที่รักษาด้วยยา chemotherapy จะได้รับ ยาป้องกัน การเกิดสาร uric acid ในเซรัมสูงไว้ก่อน ส่วนมาก ได้รับยาจำพวก xanthine oxidase inhibitors

จำแนกโรค gout ออกตามสาเหตุเป็น 2 พวก

1. Primary gout พวกนี้มี สาเหตุที่ยัง ไม่ทราบแน่ชัด เนื่องจาก เป็นความผิดปกติ ของเอนไซม์บางอย่าง ที่ส่วนใหญ่ ยังไม่ทราบแน่นอน พวกนี้ จัดเป็นส่วนใหญ่ ของโรค (ประมาณร้อยละ 85 ถึง 90 ของโรค) บางราย ทราบชนิดเอนไซม์ ที่ผิดปกติ เช่น เกิดความปกพร่อง ของเอนไซม์ hypoxanthine guanine phosphoribosyl transferase (HGPRT) ทำให้มีการสร้าง uric acid มากเกินไป ความผิดปกติ นี้พบน้อยมาก

2. Secondary gout พวกนี้มี สาเหตุที่ ทราบแน่ชัด และโรค gout ที่เกิดขึ้น เป็นผลตามของโรค ไม่ใช่ สาเหตุหลัก ของโรค เช่น โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว (leukemia) ทำให้มี การผลิตสาร uric acid มากกว่าปกติ โรคไตวายเรื้อรัง เนื่องจากการขับสาร uric acid ลดลง

พยาธิสภาพที่สำคัญของโรค gout มีดังนี้

acute arthritis. พยาธิสภาพ พบเม็ดเลือดขาว เป็นจำนวนมาก ในเยื่อหุ้มข้อ (synovium) และ ในน้ำหล่อเลี้ยงข้อ (synovial fluid) พบผลึก ยูเรทใน ไซโตพลาสซึม ของเม็ดเลือดขาว พร้อมกับพบ ผลึกเหล่านี้ อยู่รวมกันเป็นกลุ่มๆ ภายใน เยื่อหุ้มข้อ ผลึกเหล่านี้ มีรูปร่าง เป็นแท่งยาว คล้ายเข็ม นอกจากนี้ ยังพบว่า เยื่อหุ้มข้อบวม และ มีเลือดคั่ง ในหลอดเลือด พร้อมกับ พบ lymphocytes, plasma cells และ macrophages

Chronic tophaceous arthritis เกิดจาก การตกตะกอน ของผลึกยูเรท บ่อยๆ เมื่อเกิด ข้ออักเสบเฉียบพลัน ซ้ำหลายๆครั้ง ผลึกยูเรท เหล่านี้จะจับกัน เป็นแผ่นแข็ง หุ้มผิวข้อกระดูก ทำให้เยื่อหุ้มข้อ (synovium) เกิด การเพิ่มจำนวน (hyperplasia) มากขึ้น มีเยื่อเกี่ยวพันธุ์ พอกมากขึ้น ทำให้เยื่อหุ้มข้อ หนามีเซลล์อักเสบ เพิ่มมากขึ้น เกิดเป็นแผ่น เรียกว่า pannus ซึ่ง จะทำลาย กระดูกอ่อน ที่อยู่ข้างใต้ เยื่อหุ้มข้อ ในรายรุนแรง ทำให้เกิด ข้อแข็ง และในที่สุดทำให ้ข้อเสื่อมได้

Tophiเกิดจากผลึก ยูเรท เหล่านี้ สะสมกันมาก จนเซลล์อักเสบ ชนิดกินสิ่งแปลกปลอม (macrophages) รวมทั้ง lymphocytes และ multinucleated foreign body giant cells มากัดกิน และทำลาย ผลึกเหล่านี้ ก่อให้เกิด การอักเสบ ในเนื้อเยื่อ ที่ผลึกยูเรท สะสมอยู่ tophi อาจเกิดบน พื้นผิวข้อ หรือพบที่ เนื้อเยื่อ รอบๆข้อ รวมถึง เอ็นที่อยุ่ ใกล้เคียง เช่นพบที่ olecranon, patellar bursae

Archilles tendons และ ติ่งหู พบเกิด ได้น้อยใน เนื้อไต กระดูกอ่อนของจมูก ผิวหนังที่ ปลายนิ้วมือ ฝ่ามือ ฝ่าเท้า ถ้าพบ พอกอยู่ที่ ผิวหนัง อาจทำให้เกิด แผลขนาดใหญ่ ที่ผิวหนังได้

Gouty nephropathyที่ไตอาจพบ การสะสม ผลึกยูเรท ในบริเวณ interstitium และmedulla จนอาจ เกิดเป็น tophi ได้ นอกจากนี้ ผลึกยูเรท อาจสะสม อยู่ใน renal tubule ถ้าใน รายที่มี hyperuricemia รุนแรง อาจทำให้เกิด นิ่วในไตได้ (renal stone) ซึ่งอาจทำให้ เกิดภาวะแทรกซ้อน ได้ เช่น เกิด ไตอักเสบ ชนิด pyelonephritis ได้

พยาธิวิทยาโรค Pseudogout

Pseudogout (Calcium pyrophosphate crystal deposition disease) (หรือ chondrocalcinosis)
เป็นโรคที่ พบบ่อยโรคหนึ่ง ที่มีการตกผลึก ในข้อกระดูก มักพบใน คนสูงอายุ ตั้งแต่อายุ 50 ปีขึ้นไป อายุมากขึ้น พบบ่อยขึ้น เพศชาย เพศหญิงไม่ว่าเชื้อชาติใด มีโอกาสเป็นเท่ากัน

แบ่งออกเป็น

Sporadic (idiopathic)

Hereditary

Secondary ชนิดนี้เกี่ยวข้องกับ ความผิดปกติ หลายอย่าง รวมถึง การทำลาย ของข้อกระดูก ที่เกิดขึ้นมาก่อน ต่อมพาราไทรอย ผลิตฮอโมน มากกว่าปกติ (hyperparathyroidism) หรือมี การสะสม ธาตุเหล็ก ในเนื้อเยื่อ มากเกินปกติ (hemochromatosis) หรือ เลือด มีธาตุแมกนีเซี่ยม น้อยกว่าปกติ (hypomagnesemia) หรือ ต่อมไทรอย ผลิตฮอโมน น้อยกว่าปกติ (hypothyroidism) ochonosis และ โรคเบาหวาน

สาเหตุที่ แท้จริง ทำให้มี การตกผลึก ในข้อกระดูก ยังไม่ทราบแน่ชัด อาจเนื่อง จากความผิดปกติ ของเอนไซม์ ในกระดูกอ่อน (cartilage matrix) ที่จะ สร้าง หรือทำลาย pyrophosphate มีผล ทำให้เกิด การสะสม และตกผลึก ร่วมกับ ธาตุแคลเซี่ยม โดยในระยะแรก มีการตกผลึกใน cartilage matrix, menisci, และ intervertebral disc. ต่อมาเมื่อ ผลึกสะสมมากขึ้น จนเป็นก้อนโต ก้อนผลึกนี้ จะแตก และปล่อยผลึก เหล่านี้เข้า ไปใน ข้อกระดูก ผลึก เหล่านี้มีลักษณะเป็นก้อน เหมือนช็อก แตกเป็น ผงง่าย เมื่อ มองด้วย กล้อง จุลทรรศน์ เห็นเป็น ผลึกสะสม เป็นรูปไข่ ติดม่วงน้ำเงิน แต่ละ ผลึกมีขนาด 0.5 ถึง 5 m m

ปกติโรค psudogout ไม่ทำให้เกิด อาการผิดปกติ แต่อย่างไรก็ตาม บางครั้งทำให้เกิด อาการของ โรคข้อกระดูก acute หรือ subacute หรือ chronic arthritis ซึ่งทำให้ การวินิจฉัย คล้ายกับโรค osteoarthritis หรือ rheumatic arthritis ได้ อาการของ โรคข้อกระดูก นี้หายเองได้ ภายในไม่กี่วัน หรืออาทิตย์ โดยอาจเป็น ข้อเดียว หรือหลายข้อ ข้อที่เป็น มากที่สุด คือ ข้อเข่า (knee joint) ตามด้วย ข้อมือ (wrist) ข้อศอก (elbows) ข้อไหล่ (shoulder) และข้อเท้า (ankles) ตามลำดับ

พื้นฐานทางพันธุกรรมและชีวเคมีของโรคเก๊าท์ (hyperuricemia)

สาเหตุของ การอักเสบเฉียบพลัน ในโรค acute gout คือ การสะสมสาร monosodium urate crystals ในเยื่อหุ้มข้อ (synovium) และในเนื้อเยื่อ ที่อยู่ใกล้เคียง กับข้อ แต่เหตุ ที่ทำให้เกิด การสะสมของสาร ดังกล่าวข้างต้น ยังไม่เป็นที่ ทราบแน่ชัด โรค gout มักเกิดกับข้อ metatarso-phalangeal joint ของหัวแม่เท้า เข้าใจว่า แรงโน้มถ่วง ของโลก น่าจะมีส่วนร่วมเสริม ในการทำให้เกิด การสะสม ของผลึกยูเรท นอกจากนี้ ยังพบว่า โรค gout ยังเกิดได้ กับข้อเท้า (ankle joint) และพบน้อย ในข้อเข่า (knee joint) และ ข้อสะโพก (hip joint) เนื่องจาก น้ำหล่อเลี้ยงข้อ (synovial fluid) เป็นตัวละลาย (solvent) ที่เลวสำหรับ monosodium urate ผิดกับ ของเหลวพลาสม่า ซึ่งละลาย monosodium rate ได้ดีกว่า ดังนั้น เมื่อเกิด ภาวะ hyperuricemia สาร urate ในข้อกระดูก จะอิ่มตัว โดยเฉพาะที่ ข้อกระดูกที่มี อุณหภูมิต่ำ ถึง 20 องศาเซลเซียส เช่นที่ ข้อเท้า สาร urate เหล่านี้จะ ตกตะกอน เป็น microtophi อยู่ในเซลล์ ที่ดาษข้อกระดูก (synovial lining cells) และในกระดูกอ่อน ด้วยสาเหตุที่ยัง ไม่ทราบแน่ชัด อาจเป็นเพราะ trauma ก็ได้ที่ ทำให้ผลึกเหล่านี้ หลุดออกสู่ น้ำหล่อเลี้ยงข้อ (synovial fluid) พวกผลึกเหล่านี้ มีคุณสมบัติเป็น สารชักนำการอักเสบ (chemotactic) และ เป็นตัวกระตุ้น ให้สาร complement สร้าง C3a และ C5a (อ่านเพิ่มเติมในเรื่อง การอักเสบใน sheet ที่แจกไปก่อนหน้านี้ หรือใน Home Page "ChulaPatho" ในหัวข้อ general pathology เรื่อง inflammation) ทำให้เกิด การสะสม ของเม็ดเลือดขาว (neutrophils) และ เซลล์กินสิ่งแปลกปลอม (macrophages) ภายใน ข้อกระดูก และในเยื่อหุ้มข้อ (synovial membrane) เมื่อเกิด การกินผลึก เข้าไปในเซลล์เหล่านี้ ก่อให้เกิด การหลั่งสาร อนุพันธ์อิสสระ ที่เป็นอันตราย ต่อร่างกาย (toxic free radicals) และ leukotrienes (LTB4) เมื่อเซลล์เม็ดเลือดขาว ตาย จะปลดปล่อยสาร lysosomal enzyme ขณะเดียวกัน เซลล์กินสิ่งแปลกปลอม และ เซลล์หุ้มข้อ (synoviocytes) ก็จะ ผลิตสารเคมีชักนำ ตัวอื่นๆ ออกมา เช่น IL-1, IL-6, IL-8 (interleukin = IL) และ สารเคมีชักนำ TNF-a (TNF = tumor necrosis factor) ซึ่งจะ ชักนำให้เกิด การอักเสบเพิ่มมากขึ้น และเกิด การทำลายข้อกระดูก เพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ ยังมีการกระตุ้น ต่อ Hageman factors ทำให้ระบบ การแข็งตัวของเลือด เข้ามาช่วยเสริม การเกิดอักเสบ และ การทำลายข้อกระดูก เพิ่มมากขึ้น เกิด acute gouty arthritis ซึ่งจะหายได้ ภายในไม่กี่วัน หรือสัปดาห์

เมื่อนำ น้ำหล่อเลี้ยง ตามข้อ ที่เกิดโรค acute gout มาส่องดูด้วย กล้องจุลทรรศน์ จะพบเซลล์อักเสบ จำพวก polymorphonuclear leukocyte เป็นจำนวนมาก และ ผลึกสารยูเรท สามารถตรวจพบ ได้ด้วยแสง polarised light. ดังนั้นเมื่อ ข้อกระดูก เกิดการอักเสบเฉียบพลัน ข้อเหล่านี้ จะมีจำนวน เม็ดเลือดขาว เพิ่มขึ้น และ ถูกทำลาย เป็นจำนวนมาก ภายในข้อกระดูก ที่อักเสบนี้ อีกประการหนึ่ง สารผลึกขนาดเล็ก เหล่านี้ อาจทำ อันตรายต่อ เยื่อหุ้มข้อ ได้อีกด้วย ด้วยเหตุนี้ เมื่อเกิด การอักเสบเฉียบพลัน จากโรค gout มักทำให้เกิด การอักเสบชนิด cellulitis รอบๆ ข้อกระดูก ร่วมไปด้วย

เมื่อข้อกระดูก เกิดอักเสบ บ่อยๆ เป็นๆหายๆ ทำให้เกิด การอักเสบเรื้อรัง chronic arthritis และต่อมาเกิด การสร้าง tophi ตามเยื่อหุ้มข้อ ที่อักเสบ เหล่านี้รวมทั้ง เนื้อเยื่อรอบ ข้อกระดูก

เกาต์เป็นโรคข้ออักเสบที่เกิดจากการสะสมของผลึกเกลือโมโนโซเดียมยูเรตในเนื้อเยื่อและน้ำไขข้อ ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับการมีกรดยูริคในเลือดสูง(hyperuricemia) ซึ่งภาวะนี้มีนิยามคือการมีระดับซีรั่มของยูเรตเท่ากับหรือมากกว่า 6.8 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร (404 μmolต่อลิตร) ซึ่งเป็นจุดที่การละลายของยูเรตมีความจำกัด

มนุษย์ไม่มีเอนไซม์ uricase จึงไม่สามารถแปลงเปลี่ยนยูเรตเป็น allantoin ที่สามารถละลายน้ำได้ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์สุดท้ายของ purine metabolism การมีกรดยูริคในเลือดสูงเกิดจากการผลิตยูเรตมากเกินไปหรือมากกว่าปกติโดย การขับกรดยูเรตของไตเป็นสิ่งที่จำเป็น แต่ไม่เพียงพอจึงก่อให้เกิดโรคเก๊าต์
ใน cohort study หนึ่ง เกาต์เกิดขึ้นเพียง 22% ของผู้ที่มีระดับยูเรตมากกว่า 9.0 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร (535 μmolต่อลิตร) ในช่วงระยะเวลา 5 ปี

เกาต์มีลักษณะทางคลินิกสองช่วง ระยะแรกเป็นลักษณะภาวะเฉียบพลันที่เกิดขึ้นชั่วคราว ซึ่งจะสามารถดีขึ้นได้เองในช่วง 7 ถึง 10 วัน ร่วมกับการที่ไม่มีอาการแสดงในระหว่างช่วงนี้

การรักษาภาวะกรดยูริคในเลือดสูงอย่างไม่พอเพียงกับจะเปลี่ยนไปสู่ระยะที่สองโดยมีลักษณะตุ่มก้อนเรื้อรัง มักเกิดกับหลายๆข้อ อาการจะมีระหว่างการเกิดอาการเฉียบพลันและการสะสม (tophi) ในเนื้อเยื่ออ่อนหรือข้อต่อ แม้ว่าความชุกของการเกิดก้อนเกาต์แตกต่างกันไปในหมู่ประชากร ซึ่งการศึกษาหนึ่งพบว่าก้อน tophi ตรวจพบได้สามในสี่ของผู้ป่วยโรคเก๊าต์ที่ไม่ได้รับการรักษาเป็นเวลา 20 ปีหรือมากกว่านั้น อาการกำเริบซ้ำพบได้บ่อย จากการศึกษาหนึ่งพบว่าประมาณอย่างน้อยสองในสามของผู้ป่วยเคยมีอาการกำเริบกระทันหันอย่างน้อยหนึ่งครั้งในรอบปีที่ผ่านมา

Genetic and Biochemical Basis of Hyperuricemia

Gout is a disorder that is related to excess production and deposition of uric acid crystals. Uric acid is the byproduct of purine nucleotide catabolism. The root cause of gout is hyperuricemia and it is characterized by recurrent attacks of acute inflammatory arthritis. The formation of urate crystals leads to the formation of tophaceous deposits (sandy, gritty, nodular masses of urate crystals), particularly in the joints which precipitates the episodes of gouty arthritis. Gouty arthritis is the most painful manifestation of gout and is caused when urate crystals interact with neutrophils triggering an inflammatory response.


Gout does not occur in the absence of hyperuricemia. Hyperuricemia is defined as a serum urate concentration exceeding 7.0mg/dL in men and 6.0mg/dL in women. However, it should be noted that serum urate concentrations vary markedly among different populations and the values are influenced by such things as age, sex, ethnicity, body weight and the surface area of the body. Hyperuricemia can result from either excess uric acid production or reduced excretion or a combination of both mechanisms. Primary gout is a biochemically and genetically heterogeneous disorder resulting from inborn metabolic errors that alter uric acid homeostasis.

There are at least three different inherited defects that lead to early development of severe hyperuricemia and gout: glucose-6-phosphatase (gene symbol = G6PT) deficiency; severe and partial hypoxanthine-guanine phosphoribosyltransferase (HGPRT, gene symbol = HPRT) deficiency; and elevated 5'-phosphoribosyl-1'-pyrophosphate synthetase (PRPP synthetase, gene symbol = PRPS) activity.

The familial association of gout was recognized hundreds of years ago but defining the exact genetic mechanisms wasn't possible until the advent of modern genetic tools. Gout was included as an inherited disorder in the seminal work of Archibald E. Garrod in his 1931 publication on inborn errors in metabolism. Garrod considered gout to be a dominantly inherited trait. However, we now know that G6PT deficiencies are inherited as autosomal recessive traits and HPRT and PRPS defects are X-linked traits.

PRPP synthetase is the enzyme responsible for the synthesis of the activated ribose (5'-phosphoribosyl-1'-pyrophosphate, PRPP) necessary for the de novo synthesis of purine and pyrimidine nucleotides. Regulation of PRPP synthesis is effected through complex allosteric regulation of PRPP synthetase. At least three different isoforms of PRPP synthetase have been identified and are encoded by three distinct, yet highly homologous PRPS genes, identified as PRPS1, PRPS2, and PRPS3. The PRPS1 and PRPS2 genes are found on the X chromosome (Xq22–q24 and Xp22.2–p22.3, respectively) and the PRPS3 gene is found on chromosome 7. The PRPS3 gene appears to be expressed exclusively in the testes. All three PRPP synthetase isoforms differ in kinetic and physical characteristics such as isoelectric points (pI), pH optima, activators and inhibitors. Mutations in the PRPS genes that result in superactivity lead to enhanced production of PRPP. Increased levels of PRPP, in turn, drive enhanced de novo synthesis of purine nucleotides in excess of the needs of the body. Thus, the excess purine nucleotides are catabolized resulting in elevated production of uric acid and consequent hyperuricemia and gout.

Hypoxanthine-guanine phosphoribosyltransferase (HGPRT) is an enzyme involved in the salvage of purine nucleotides. HGPRT catalyzes the following two interconversions:
hypoxanthine + PRPP <——> IMP + PPi
guanine + PRPP <——> GMP + PPi

A complete or virtually complete loss of HGPRT activity results in the severe disorder, Lesch-Nyhan syndrome. Although Lesch-Nyhan syndrome is known more for the associated bizarre emotional behaviors, there is also overproduction and excretion of uric acid and gouty manifestation. Less dramatic reductions in HGPRT activity do cause hyperuricemia and gout due to the reduced salvage of hypoxanthine and guanine leading to increased uric acid production.

Deficiencies in glucose-6-phosphatase result in type I glycogen storage disease (von Gierke disease). However, associated with this defect is increased uric acid production and symptoms of gout. The inability to dephosphorylate glucose 6-phosphate leads to an increase in the diversion of this sugar into the pentose phosphate pathway (PPP). One major product of the PPP is ribose 5-phosphate. An increase in the production of ribose 5-phosphate results in substrate-level activation of PRPP synthetase. Increased activity of PRPP synthetase, in this circumstance, has the same consequences as defects in the PRPS gene that lead to superactivity of PRPP synthetase described above.